fbq('track', 'ViewContent');

จากเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ล่าสุด ทุกคนคงได้เห็นกันแล้วว่า.. "นักดับเพลิง" นั้นสำคัญแค่ไหน เป็นอาชีพที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ อดหลับอดนอน เพื่อเสี่ยงชีวิตช่วยเหลือผู้คน เรียกได้ว่าเป็นฮีโร่ของเหตุการณ์ที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้ แต่รู้หรือไม่ว่า.. กว่าจะมาเป็นนักดับเพลิงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านการทดสอบ และการเทรนด์มากมายก่อนได้ลงสนามจริง วันนี้เราเลยจะพาไปดูกันว่ากว่าจะมาเป็นนักดับเพลิงได้นั้นต้องผ่านด่านคัดเลือกอะไรบ้าง

1. สอบข้อเขียน

สเต็ปแรกของการคัดเลือก คือ ต้องสอบขอเขียนเข้าเป็นพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้ผ่านก่อน ไม่ว่าจะเรียนจบจากสายไหนก็สามารถสอบได้หมด ขอแค่มีร่างกายที่แข็งแรง พร้อมเรียนรู้และรับมือกับทุกสถานการณ์ไม่คาดคิด โดยการสอบจะแบ่งออกเป็น 3 พาร์ท พาร์ทแรกสุดเรียกว่า ภาค ก. คือการสอบข้อเขียนเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นความรู้เรื่องการป้องกันไฟ การจัดการวัสดุอันตราย การใช้งานเครื่องจักร หรือโครงสร้างอาคารต่าง ๆ หลังจากสอบภาค ก. ผ่านแล้วถึงจะได้ผ่านไปขั้นตอนต่อไป

59e090f53d07fe392915423ce6ab5567.jpeg

2. ทดสอบร่างกาย

เป็นขั้นทดสอบความแข็งแรงของร่างกาย โดยจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 6 ฐาน ได้แก่ การวิ่ง 1,000 เมตร ภายใน 5 นาที ว่ายน้ำ 50 เมตร ภายใน 1.30 นาที ดันพื้น 20 ครั้ง ดึงข้อ 5 ครั้ง แบกตุ๊กตา 50 กิโลกรัม ปีนขึ้นลงบันไดสูง 2 เมตร ภายใน 40 วินาที และสุดท้ายคือการผลักบันไดดับเพลิง ผู้สมัครสอบทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะต้องผ่านการทดสอบเกณฑ์นี้เหมือนกันหมด ไม่มีข้อยกเว้น

c1187667c710a5c3c26b85f621c4e92e.jpeg

3. สอบสัมภาษณ์

ด่านนี้เป็นการทดสอบจิตวิทยา วัดปฏิภาณไหวพริบและความสามารถในการตัดสินใจเมื่อแบกรับสถานการณ์เลวร้ายภายใต้ความกดดัน เพราะเป็นงานที่ต้องแข่งขันกับเวลาและความเป็นความตายของผู้คน จึงไม่ใช่ทุกคนที่จะผ่านขั้นตอนนี้ได้ เพราะฉะนั้นคนที่จะมาทำตำแหน่งนี้จึงต้องมีทักษะการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ และตัดสินใจได้รวดเร็ว เด็ดขาด อย่างมีเหตุและผล เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้ประสบภัย

5b3adfe17e43e24cf884a47bbe989b5d.jpeg

4. เทรนด์ร่างกาย

หลังจากผ่านการทดสอบทั้ง 3 ขั้นตอนแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะได้ลงสนามเลย ยังต้องเข้ารับการฝึกเพื่อเป็นพนักงานดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยการเทรนด์เป็นอย่างต่ำ 10 - 24 สัปดาห์ เป็นการฝึกเพื่อปรับสภาพร่างกาย และจิตใจให้พร้อม เพื่อที่จะกู้ภัย และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกวิธี

4a2c17e9fec110f6e5ec97fa3f00d495.jpeg

5. ประจำที่สถานีดับเพลิง

เมื่อได้รับการเทรนด์จนครบหลักสูตรแล้ว พนักงานดับเพลิงใหม่ยังคงต้องประจำการที่สถานีก่อน ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ จนกว่าจะได้รับการประเมินว่าร่างกายและจิตใจพร้อมแล้วถึงจะได้ลงสนามอย่างเต็มตัว

556826cbbb1c6f3b1f7bcf8d48dc5cce.jpeg

รู้อย่างงี้แล้ว.. รับรู้ได้ถึงความทุ่มเทของเหล่านักกู้ภัยหรือยัง ว่ากว่าจะมาช่วยเหลือสังคมได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านขั้นตอนมากมายให้ได้มาเป็นตัวแทนช่วยเหลือสังคมอยู่ตรงนี้ ช่างเป็นอาชีพที่น่านับถือจริง ๆ หวังว่าต่อไปผู้คนจะให้สนใจและให้ความสำคัญกับอาชีพนี้กันมากขึ้น เพราะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เสียสละมาก ๆ ในวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย


T&T_Banner Ad-14.jpg

Comment